skip to Main Content
032-706906 info@wfft.org

ครั้งแรกของมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่ากับการปล่อยชะนีคืนสู่ธรรมชาติ

กุ๊กกู๋ – เคยถูกใช้ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ปัจจุบันเขาอยู่ในขั้นตอนการรอปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

วันที่ 4 มีนาคม 2553 ชะนีครอบครัวแรกของมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าถูกย้ายไปยังเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีป่าหนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน การปล่อยชะนีครั้งนี้เป็นโครงการร่วมกันระหว่างมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมชะนีปล่อยคืนสู่ธรรมชาติและติดตามพฤติกรรมหลังการปล่อย

สมาชิกผู้ร่วมทาง

ชะนีตัวแรกที่ถูกย้ายไปแม่ฮ่องสอนคือ “กุ๊กกู๋” ชะนีเพศผู้อายุประมาณ 9 ปี เดิมอยู่ที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวกซึ่งเจ้าของใช้ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวจนกระทั่งอายุ 3 ปีหลังจากนั้นเขาก็ถูกเจ้าของจับขังกรงไว้ กุ๊กกู๋ย้ายมาอยู่ที่มูลนิธิฯ ปี 2546 ทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับชะนีตัวอื่นบนเกาะซึ่งได้แก่แบงค์และดอลล่า

“แบงค์” และ “ดอลล่าร์” เป็นชะนีเพศผู้และเพศเมียที่มาจากตลาดน้ำดำเนินสะดวกเช่นกัน ทั้งคู่มาอยู่ที่มูลนิธิฯ ในปี 2547 เนื่องจากเจ้าของไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้

ส่วนชะนีตัวสุดท้ายคือ “ปราย” ชะนีเพศเมียอายุ 2 ปี เธอเป็นลูกของกุ๊กกู๋และดอลล่าร์ซึ่งเกิดแลโตบนเกาะของมูลนิธิฯ ปรายไม่เคยถูกสัมผัสจากมนุษย์เลยจนกระทั่งวันที่ถูกย้ายไปยังแม่ฮ่องสอน

ชะนีทั้งสี่ได้รับการตรวจร่างกายก่อนเดินทางสู่แม่ฮ่องสอน

การเดินทางสู่แม่ฮ่องสอน

 

ก่อนที่ชะนีทั้งหมดจะออกเดินทาง ขั้นแรกเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องจับชะนีเหล่านี้ไปยังโรงพยาบาลสัตว์เสียก่อนโดยใช้ลูกดอกยาสลบ ชะนีแต่ละตัวได้รับการฉีดยาและตรวจเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีสุขภาพดีเหมาะสมที่จะกลับเข้าไปอยู่ในป่าและจะไม่นำโรคไปติดต่อชะนีตามธรรมชาติ

หลังจากนั้นชะนีทั้งหมดก็ถูกย้ายเข้าไปอยู่ในกรงเพื่อเตรียมเดินทางทันที โดยการเดินทางจากเพชรบุรีสู่แม่ฮ่องสอนใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง

ชะนีทั้งสี่ถูกย้ายเข้าสู่กรงสำหรับเตรียมการปล่อยเพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่

กรงสำหรับชะนีก่อนปล่อย

เมื่อเดินทางไปถึงแม่ฮ่องสอนชะนีทั้งสี่ตัวจำเป็นต้องอยู่ในกรงขนาดใหญ่สักระยะหนึ่งเพื่อพักฟื้นร่างกายจากการเดินทางและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมใหม่เสียก่อน เนื่องจากที่แม่ฮ่องสอนทั้งภาพ เสียงและกลิ่นไอของของธรรมชาติยังคงเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับชะนีเหล่านี้

การเดินทางที่ยาวนานคงทำให้พวกเขาอ่อนเพลียมาก ชะนีทั้งหมดหลับไปอย่างรวดเร็วหลังจากสำรวจกรงใหม่แค่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ และยังคงนอนตลอดทั้งวันโดยตื่นเฉพาะช่วงเวลาให้อาหารเท่านั้น แต่หลังจากนั้นเพียงหนึ่งวันชะนีทั้งสี่ก็กลับมาตื่นตัวเหมือนเดิม พวกเขาทำการสำรวจกรงใหม่กันเป็นการใหญ่และเริ่มมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ

ขั้นตอนสุดท้าย

ในอนาคตเมื่อชะนีสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วเราจึงจะสามารถปล่อยพวกเขาเข้าป่าได้จริงซึ่งพวกเขาจะมีโอกาสกลับไปใช้ชีวิตและเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระอีกครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลเฝ้าติดตามการใช้ชีวิตในป่าธรรมชาติของชะนีเหล่านี้อยู่ห่างๆ ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการตามแนวทางของ IUCN ในการปล่อยสัตว์พวกไพรเมตคืนสู่พื้นที่ที่เคยมีสัตว์ป่าดังกล่าวอาศัยอยู่แต่ปัจจุบันได้ลดจำนวนลงหรือหมดไปจากพื้นที่นั้นแล้ว (reintroduction)

ร่วมมือกับเรา

มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าต้องการความช่วยเหลือจากคุณ เผยแพร่เรื่องราวและภารกิจปกป้องสัตว์ป่าของเราออกสู่ภายนอก
หากคุณอยากช่วยเหลือสามารถเยี่ยมชมและมามีส่วนร่วมกันกับเราได้

Wildlife Friends Foundation Thailand

Back To Top