สมาชิกใหม่ตัวน้อยนิดที่เข้ามาอาศัยอยู่กับมูลนิธิฯ ไม่นานนี้ มีชื่อว่า "น้องโทบี้" เป็นเต่าหูแดงที่เคยถูกเก็บไว้เป็นสัตว์เลี้ยง
เบื้องหลังอันมืดมนของเสือโคร่งสีทอง
เสือโคร่งสีทอง เป็นหนึ่งในสัตว์ที่พบเห็นได้มากที่สุดตามสวนสัตว์ในประเทศไทยช่วงนี้ สามารถดึงดูดผู้คนและสื่อได้มากมาย ทำให้มีคนชื่นชอบ กดไลค์ กดแชร์กันอย่างแพร่หลาย เสือโคร่งที่มีรูปลักษณ์โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เช่นนี้ ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่สวยงามและพิเศษก็จริง แต่สื่อและโฆษณากลับมองข้ามความจริงที่อยู่เบื้องหลังของเสือเหล่านี้: ความงดงามที่เห็นแค่เปลือกนอก แลกมากับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ของเสือ เป็นฝีมือของมนุษย์เองที่ทำการผสมพันธุ์โดยไม่คำนึงถึงตัวของเสือ
ถึงรูปลักษณ์ภายนอกของเสือโคร่งสีทองจะน่าดึงดูดตาแค่ไหน ก็ไม่ใช่สิ่งที่มาจากธรรมชาติจริง และการถูกบังคับเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนี้ ทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา ซึ่งเป็นสิ่งที่สถานที่ท่องเที่ยวเชิงสัตว์ป่าบางแห่งทำนั้น ไร้ซึ่งมนุษยธรรม และสร้างความเข้าใจผิดให้กับสาธารณะเป็นอย่างมาก
ผลกระทบของการผสมพันธุ์ซ้ำ ๆ
การผสมพันธุ์แบบซ้ำๆ เพื่อให้สัตว์ที่เกิดมามีหน้าตาและสีสันสวยงาม มีน้อยมากที่สัตว์ที่เกิดมาจะมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ในบรรดาเสือที่ได้รับการช่วยเหลือมากว่า 20 ตัวในมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า มักตรวจพบปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ซึ่งเป็นเหตุมาจากการเพาะพันธุ์ซ้ำซาก
ยกตัวอย่างเช่น มีมี่ เสือโคร่งอายุ 5 ปี ที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ตาเข และขาสั้นยาวไม่เท่ากัน ต้องเตรียมอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้มีมี่สามารถกินได้อย่างสะดวก เมื่ออายุมากขึ้นขาของมีมี่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบอีกด้วย ส่วนเสือโคร่งอีกตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า แป๋ง มีขนาดหัวที่ผิดปกติ และมีดวงตาเข ซึ่งเป็นภาวะที่เห็นได้ทั่วไปในเสือโคร่งที่ผ่านการเพาะพันธุ์
ความผิดปกติทางร่างกายที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น “ในความเป็นจริงแล้ว เสือเผือกทุกตัวมีภาวะดวงตาเข” กล่าวโดย Tanya Erzinclioglu ผู้ก่อตั้งองค์กรการกุศลอย่าง For Tigers โดยองค์กรได้ตอบโต้ในเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ของเสือในกรงที่มีอยู่มากมายในประเทศไทย ด้วยการรวบรวมข้อมูล จัดสื่อการเรียนรู้ และระดมทุน เธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ถึงเราจะเห็นไม่ชัดเจนว่าเสือมีความผิดปกติอย่างไร แต่ทุกตัวมีภาวะผิดปกติทางสายตาจริง” เรื่องแบบนี้มักถูกละเลย หรือไม่มีใครได้ล่วงรู้ เพราะสัตว์ถูกเก็บไว้ให้ห่างจากสายตาของสาธารณชน
หากพนักงานสวนสัตว์ และผู้คนรู้เรื่องราวความโหดร้ายของ “การเพาะพันธุ์สัตว์” ที่ทำให้สัตว์ต้องทุกข์ทรมาณจากอาการข้อสะโพก กระดูกสันหลังเสื่อม ความพิการและภาสะผิดปกติอื่นๆ อีกมากมาย คุณ Tanya หวังว่าผู้คนจะเห็นความเป็นจริงในเรื่องนี้ และได้เตือนว่า “สัตว์ที่เราเห็นมีแต่ตัวสวยๆ ทั้งที่จริงมีสัตว์ที่พิการอยู่เบื้องหลังอีกเป็นจำนวนมาก”
หลายคนเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสัตว์ป่า และฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์ต่างยกย่องให้เสือเหล่านี้เป็นสัตว์ที่หายาก นั่นเป็นความคิดที่ผิดถนัด จากที่คุณทอม เทเลอร์ Tom Taylor ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของมูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า ได้ชี้แจงว่า เสือโคร่งดังกล่าวไม่ใช่สัตว์สายพันธุ์ใหม่ แต่เป็นสัตว์ที่เกิดจากการบิดเบือนทางพันธุกรรมด้วยฝีมือของมนุษย์
การผสมพันธุ์สัตว์แบบซ้ำๆ ขัดต่อข้อกำหนดตามมาตรฐาน
สมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งอเมริกา (AZA) เน้นย้ำเรื่องการผสมพันธุ์สัตว์ที่เกิดมาจากสายเลือดเดียวกันวนซ้ำไปมา เพื่อให้เกิดสัตว์อย่างเสือโคร่งสีทอง หรือ เสือโคร่งเผือก ที่ตามมาด้วยปัญหาทางสุขภาพมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภายในร่างกาย หรือปัญหาที่เห็นได้ภายนอกร่างกาย ซึ่งอาจถึงอันตรายแก่ชีวิตได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดย สมาคม AZA ได้เรียกร้องให้ยุติการกระทำดังกล่าว เนื่องจากไม่เห็นถึงความประสงค์ที่จะอนุรักษ์ หรือเป็นการศึกษาแต่อย่างใด เห็นแค่เพียงการทารุณกรรมสัตว์เท่านั้น
ตามที่คุณทอมได้กล่าวไว้ว่า เสือที่มาจากการเพาะพันธุ์ ไม่สามารถปล่อยคืนสู่ป่าได้ เนื่องจากไม่มีทักษะการเอาตัวรอดอย่างเสือที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ เสือในกรงต่างมีไว้เพื่อเป็นเพียงเครื่องมือกอบโกยเงินจากนักท่องเที่ยว ที่ไม่ได้รับรู้ถึงเบื้องหลังของสัตว์เหล่านี้ คุณทอมยังเสริมไว้อีกว่า “เราควรที่จะระดมทุน ใช้เงินที่เรามีในการอนุรักษ์ปกป้องเสือตามธรรมชาติของเราจะดีกว่า”
คุณทอมยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ถึงเวลาที่ต้องบอกให้ทุกคนรับรู้แล้วว่า ฟาร์มเพาะเสือ หรือสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสัตว์ป่าที่ไร้มาตรฐาน การผสมพันธุ์เสือในกรง ไม่ได้มีส่วนช่วยในเรื่องของการอนุรักษ์เสือแลยแม้แต่น้อย”
ความเข้าใจแบบผิดๆ และโฆษณาชวนเชื่อ
ถึงแม้กลุ่มเพาะพันธุ์เสือ จะออกมาอ้างว่าเสือโคร่งสีทองมีอยู่จริงตามธรรมชาติ อย่างที่มีคนเคยพบเสือโคร่งทองครั้งล่าสุดที่ประเทศอินเดียปี พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา ความบิดเบือนทางพันธุกรรมนี้เป็นผลกระทบที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกันซ้ำๆ และไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การขาดแคลนความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์สัตว์ในกรง
คุณ Tanya อธิบายไว้ว่า “การกลายพันธุ์” เป็นสัญญานบ่งบอกถึง ประชากรเสือจะมีสุขภาพย่ำแย่และมีอายุสั้น ลูกเสือกว่าหลายร้อยตัวในไทยที่ถูกเพาะพันธุ์ในแต่ละปี เกิดมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพียงเพื่อนำไปใช้ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป โดยขังไว้ในกรงเล็กๆ ไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ หรืออาหารที่เหมาะสม และต้องทนกับการถูกสัมผัส อุ้มไปมาโดยผู้ดูแลสัตว์หรือนักท่องเที่ยว
สรุปคือการเพาะพันธุ์เสือ มีผลเสียมากกว่าผลดี เรื่องนี้ต้องแก้ไขด่วน
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือ กระแสที่เพิ่มขึ้นของการเพาะพันธุ์สิ่งที่ดูแปลกใหม่ ดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้มาก อย่างเช่น การเพาะพันธุ์เสือโคร่งสีทอง หรือ เสือโคร่งเผือก เพื่อนำไปเผยแพร่อวดโฉมว่าเป็นสัตว์หาดูยาก แต่มันคือความทรมาณที่เกิดจาดการบิดเบือนทางพันธุกรรม
แทนที่จะไปชื่นชมสัตว์เหล่านั้น เราควรช่วยกันยุติค่านิยมที่อันตรายนี้ให้จบสิ้น และช่วยผลักดันให้มีข้อกำหนดด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่เข้มงวดขึ้น Tย้ำว่าการผสมพันธุ์เสือเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ ไม่ใช่การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์แต่อย่างใด
ถึงเวลาที่เราทุกคนควรเปลี่ยนความความคิดที่จะไปชมเสือสวยงามตามสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสัตว์ป่า มาเป็นความมุ่งมั่นในการปกป้องอนุรักษ์เสือตามธรรมชาติ เพื่อในอนาคตสิ่งมีชีวิตที่งดงามเหล่านี้ยังคงอยู่กับเราไปนานๆ
หากคุณต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเสือในกรง สามารถช่วยได้ด้วยการไม่เข้าไปแวะชมสถานที่ท่องเที่ยวที่อนุญาตให้มีการสัมผัสใกล้ชิด หรือ สามารถสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือสัตว์ป่าอย่าง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า และอื่นๆ อีกมากมายที่ให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูรักษาสัตว์ที่มาจากการถูกงานโดยมนุษย์