Skip to content
032-706906 info@wfft.org

สัตว์ป่าคงไม่ได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.

แม้ว่าประเทศไทยกำลังจะมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ แต่สัตว์ป่านั้นก็ยังคงไม่ได้รับการคุ้มครองตามพรบ. ฉบับนี้อยู่ดีหลังจากที่มีการรณรงค์และต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งพรบ.ฉบับนี้กันอยู่หลายปี ในที่สุดประเทศไทยก็อาจจะได้มีพรบ.คุ้มครองสัตว์ พรบ.ที่ว่าด้วยการต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์อย่างนานาประเทศกับเขาเสียที แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า พรบ.ที่กำลังจะออกมามีผลบังคับใช้นี้ จะไม่ได้คุ้มครองสัตว์ได้ครบทั้งหมดทุกชนิด คณะกรรมาธิการวิสามัญได้ร่างพรบ.ฉบับนี้โดยไม่ได้ครอบคลุมสัตว์บางประเภท โดยเฉพาะสัตว์ป่า ที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ที่ว่าด้วยการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ฉบับนี้ ดังนั้นการลักลอบค้าสัตว์ป่าและการทารุณกรรมสัตว์ป่าก็จะยังคงกระทำการต่อไปได้อยู่

Wildlifeandwelfare

หลังจากการชุมนุมของ AAA (Animal Activist Alliance of Thailand) พร้อมทั้งกลุ่มคนรักสัตว์อีก 30 กลุ่ม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2555 ที่ด้านหน้ารัฐสภา ทางรัฐบาลจึงได้มีการเคลื่อนไหว และจัดตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อที่จะร่างพรบ.คุ้มครองสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งสมควรจะเป็นกฎหมายที่ว่าด้วย “การต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์” โดยในเบื้องต้นคณะกรรมาธิการร่างพรบ.จะประกอบด้วย องค์กรอิสระด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ที่ได้รับคัดเลือก,นักวิชาการด้านกฎหมาย และตัวแทนจากสภาผู้แทนราษฏร

สุดท้ายแล้ว ก็ยังมีองค์กรอิสระหลายๆองค์กรที่ไม่ได้รับการต้อนรับเพื่อเข้าร่วมพูดคุย และ ที่นั่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพรบ.ฉบับนี้ก็ได้มีการเสนอชื่อจนเต็มทั้ง 30 ที่นั่งอย่างรวดเร็วซึ่งมากกว่าครึ่งเป็นผู้แทนราษฏรกับนักกฎหมาย เหลือเพียง 12 ที่นั่งสำหรับ องค์กรด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์และการอนุรักษ์สัตว์ จริงๆแล้วจำนวนที่นั่งนี้น่าจะเพียงพอ ถ้าหากว่าจะเป็นตัวแทนจากหลายๆกลุ่มหลายๆองค์กร แต่หากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้น มีองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งได้ที่นั่งในคณะกรรมาธิการไปถึง 10 ที่นั่ง ซึ่งแทบจะไม่เหลือโอกาสให้องค์กรอื่นได้เสนอแนะความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปเลย โดยมีอีก 3 องค์กรที่มีโอกาสได้เข้าร่วมโดยแต่ละองค์กรมีตัวแทนเข้าร่วมได้องค์กรละ 1 คนเท่านั้น นั่นหมายถึงว่าสัตว์อื่นๆอีกหลายประเภทถูกลืมไว้เบื้องหลังไม่มีกระบอกเสียงจะเสนอความคิดเห็นแทน ตัวอย่างเช่น ช้าง สัญลักษณ์ของชาติไทย รวมไปถึงสัตว์ป่าอื่นๆ

แน่นอนว่าการมีกฎหมายที่ว่าด้วยการต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์นั้นเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในขณะเดียวกันพรบ.ฉบับนี้จะเป็นพรบ.ฉบับแรกในโลกที่สัตว์ป่าไม่ได้รับการคุ้มครองโดยพรบ.ฉบับนี้ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ได้? ถ้าพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับสัตว์ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่กรมปศุสัตว์จะมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล เช่นสัตว์เลี้ยง สัตว์ฟาร์ม สัตว์เศรษฐกิจ รวมไปถึงเรื่องสัตว์แพทย์ ในทางกลับกันการดูแล, การลงทะเบียน รวมทั้งการช่วยเหลือสัตว์ป่านั่นอยู่ภายใต้อำนาจการดูแลและรับผิดชอบของกรมอุทยานฯ การบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองและสวัสดิภาพสัตว์นั้นจึงเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นของทางกรมอุทยาน เพราะฉะนั้นนอกจากที่กรมอุทยานฯจะมีหน้าที่ในการสอดส่องสถานะทางกฎหมายของสัตว์ป่าแล้วยังต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าเหล่านี้ด้วย ในระยะสั้นทางกรมอุทยานฯต้องดูแลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัตว์ป่าในสวนสัตว์ การค้าสัตว์ป่านั้นสัตว์ป่าต้องมีสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ให้ได้มาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายอาจจะทำได้ยากในช่วงเริ่มต้นแต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าหากว่ามีการเริ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไป

ระหว่างการเข้าร่วมปรึกษากับ นายณรงค์ มหรรณพ, ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า, ได้กล่าวว่า สัตว์ป่านั้นจะไม่ถูกบรรจุเข้าในกฎหมายที่ว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์ใดๆ โดยไม่ได้บอกเหตุผลแน่ชัด อาจจะเป็นเพราะว่า งานประจำของทางสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่านั้นก็ล้นมืออยู่แล้ว ต้องปรับปรุงศูนย์เพาะพันธุ์และอนุรักษ์สัตว์ป่า 14 แห่งทั่วประเทศ ที่มีสัตว์ป่าจำนวนมากที่อยู่ในสภาพย่ำแย่อยู่แล้ว นอกจากนี้คำตอบของนายณรงค์ที่ว่า สัตว์ป่านั้นอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของพรบ. อนุรักษ์สัตว์ป่าอยู่แล้วนั้นยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอ เพราะเป็นคนละประเด็นกัน อย่างที่รู้กันอยู่ว่า องค์กรสวนสัตว์ในประเทศไทยนั้นมีอิทธิพลมาก หลายๆสวนสัตว์ก็ยังมีสัตว์ป่าอยู่ในความครอบครองอย่างผิดกฎหมายแต่ก็ไม่เคยจะถูกดำเนินคดีใดๆ ธุรกิจที่มีรายได้และผลกำไรเยอะเช่นนั้นทำธุรกิจสวนสัตว์เหล่านี้อยู่เหนือกฎหมาย

มีเพียงนายโรเจอร์ โลหะนันท์ จากสมาคมพิทักษ์สัตว์ (Thai Animal Guardian Association) และน.ส.ชลลดา เมฆราตรี ตัวแทนกลุ่มคนรักสัตว์ในเฟซบุคเท่านั้นที่คัดค้านพรบ.ฉบับนี้ที่ไม่ครอบคลุมสัตว์ป่า อย่างไรก็ตามคณะกรรมการของสมาคม… ที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการร่างพรบ. และตัวแทนจากมูลนิธิ…. ที่สนับสนุนการทำงานของกรมอุทยานฯนั้น ได้ปฏิเสธสิทธิของสัตว์จำนวนมากที่ควรจะได้รับความคุ้มครองจากพรบ.ฉบับใหม่ที่จะออกมามีผลบังคับใช้นี้

พรบ.อนุรักษ์สัตว์ป่าที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น ระบุถึงการป้องกันสัตว์ป่าที่ดำรงชีวิตอยู่ในป่า และอนุรักษ์สายพันธุ์เหล่านั้นจากการลักลอบค้าสัตว์ป่าซากสัตว์และชิ้นส่วนของสัตว์ป่า, การครอบครอง, และการบริโภคสัตว์ป่าเท่านั้น แต่หากว่า พรบ.อนุรักษ์สัตว์ป่าฉบับนี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้องจากสัตว์ป่าและการทารุณกรรมสัตว์ป่าเลยแม้แต่น้อย ซึ่งรวมไปถึงการมีไว้ในครอบครองเป็นการส่วนตัว, ปางช้าง, สวนสัตว์ หรือสวนสนุก เพราะฉะนั้นพรบ.คุ้มครองสัตว์และจัดสวัสดิภาพสัตว์นั้นไม่ได้ครอบคลุมถึงสัตว์ป่านั้นมันหมายถึงว่า เมื่อใดก็ตามที่ สัตว์ป่านั้นได้มาอย่างถูกกฎหมาย สัตว์ป่าเหล่านั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากการทารุณกรรมสัตว์และการหาประโยชน์จากสัตว์เหล่านั้นอย่างเหี้ยมโหดเลย

เอดวิน วีค
ผู้ก่อตั้ง มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่า

ร่วมมือกับเรา

มูลนิธิเพื่อนสัตว์ป่าต้องการความช่วยเหลือจากคุณ เผยแพร่เรื่องราวและภารกิจปกป้องสัตว์ป่าของเราออกสู่ภายนอก
หากคุณอยากช่วยเหลือสามารถเยี่ยมชมและมามีส่วนร่วมกันกับเราได้

Wildlife Friends Foundation Thailand

Back To Top